วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2552

กรณีศึกษา จากบทความเรื่อง “วิพากษ์ไทยวัฒนธรรม (จบ) : Hybrid Culture คือทางออกจุดเชื่อมกระแสเก่าและคนรุ่นใหม่” โดย จิรนนท์ คนข่าว

















ด้วยเรื่องราวน้ำเน่าแต่แผงไปด้วยความน่าสนใจของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ซึ่งไม่ต่างจากความสำเร็จของ “แดจังกึม” ซึ่งละครทั้งสองเรื่อง ถือว่าเป็นการแนะนำประเทศญี่ปุ่น และเกาหลีได้อย่างตรงประเด็นมากที่สุด ซึ่งสามารถจับใจคนดูได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย หลังจากนั้น ค่อยนำเสนอเรื่องที่สามารถจับใจกลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยการนำเสนอผ่านเพลง ละคร แต่ว่าแต่ละอย่างที่นำเสนอ ต่างสอดใส่วัฒนธรรม ค่านิยม ของแต่ละประเทศได้อย่างคนดูไม่รู้ตัว และสร้างความคุ้นเคยและความต้องการที่จะรู้จักกับศิลปิน และวัฒนธรรมมากขึ้น โดยสอดคล้องกับคำพูดของ พันธุ์เมศ ณ ระนอง ผู้จัดการองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลีประจำประเทศไทย ที่เคยเล่าให้ฟังว่า กระทรวงวัฒนธรรมของเกาหลีได้ใก้ความสำคัญกับกระแสความนิยมของกลุ่มวัยรุ่น (Pop Culture) ซึ่งนำมาใช้เป็นฐานในการต่อยอดทางความคิด ในการผสานวัฒนธรรมดังเดิมให้วัยรุ่นสามารถเข้าถึงและคุ้นเคย มากขึ้น ในทางวัฒนธรรมศึกษา การดำเนินการดังกล่าวเป็นสร้างทางรอดให้กับวัฒนธรรมดั้งเดิมผ่านการ Hybrid Culture เพื่อต่อยอดความนิยมไปยัง Traditional Culture ซึ่งหากมีผู้จัดการด้านวัฒนธรรมที่ดีจะตัองเข้าใจกระแสความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวท่ามกลาง Globalization โดยการจัดระดับวัฒนธรรมของชาติใหม่ เพื่อป้องกันวัฒนธรรมดั้งเดิม สูญหายไปจากการกลืนของวัฒนธรรมที่เหนือกว่า การจัดระดับวัฒนธรรมของชาติ เริ่มต้นด้วย Purely Original Culture จะต้องยกระดับให้เป็นวัฒนธรรมชั้นสูง ซึ่งใครที่มีความสามารถในการถ่ายทอดวัฒนธรรมนั้น คือเป็นผู้ที่จะต้องได้รับการยกย่องระดับชาติ และที่สำคัญบุคคลนั้นจะต้องมีการรับรู้ในทุกกลุ่มของสังคม สำหรับวัฒนธรรมชั้นสูงที่เกิดขึ้นและมีมูลค่าที่สามารถเข้าถึงจิตใจของคนทั่วไป ได้แก่ วัฒนธรรมการดื่มไวน์ของชาวฝรั่งเศส วัฒนธรรมการดื่มชาตอนบ่ายของอังกฤษ การแต่งกายชุดประจำชาติในงานพิธีสำคัญของชาวญี่ปุ่น

ระดับถัดมาเป็น Hybrid Culture ซึ่งเป็นผลพวงของการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมท้องถิ่นกับวัฒนธรรมสากล เพื่อป้องกันการอยู่รอดของวัฒนธรรมหลัก แต่จะต้องมีวัตถุประสงค์ในการส่งต่อรสนิยมการเสพวัฒนธรรมไปสู่วัฒนธรรมชั้นสูง ตัวอย่างที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน คือ ประเทศญี่ปุ่น ที่คนญี่ปุ่นโดยเฉพาะวัยรุ่นไม่รู้สึกเขินอายเมื่อสวมชุดกิโมโนหรือยูกะตะ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เทศกาลสำคัญๆอีกระดับคือ Pop Culture หรือ วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นแล้วหายไปในเวลาที่ไม่นานนัก และส่วนมากจะไม่ยั่งยืน เมื่อเทียบกับวัฒนธรรมดังเดิม แต่ที่ผ่านมากระทรวงวัฒนธรรมของไทย กลับเห็นวัฒนธรรมในลักษณะนี้เป็นปฏิปักษ์ต่อวัฒนธรรมหลักของสังคม ออกมาประนามสิ่งที่วัยรุ่นทำ โดยไม่มีการหันมาทำความเข้าใจกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจากต้นตอสู่ผลที่เกิดขึ้น (Cause and Effect) หากว่าทำความเข้าใจแล้ว จะทำให้รู้ถึงวิธีการที่จะเข้าถึงวัยรุ่นกลุ่มดังกล่าวและการนำเอารูปแบบ Hybrid Culture ไปเป็นจุดเชื่อมเพื่อสร้างค่านิยมใหม่ให้กับวัยรุ่นได้ โดยไม่ต้องออกมาต่อว่าต่อขานว่าเป็นเด็กสายเดี่ยว เด็กแก่แดด เด็กใจแตกบ้างอย่างไรก็ตาม ยังคงมีผู้ประกอบการบันเทิงบางส่วนที่มีความพยายามที่จะพัฒนาความเป็นไทย ไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่ ในรูปแบบที่ง่ายและตอบสนองความต้องการของวัยรุ่นได้อย่างตรงประเด็น อย่างเช่น กลุ่มบริษัทเวิร์คพอยท์ฯ ในรายการคุณพระช่วย แฟนพันธุ์แท้ ชิงช้าสวรรค์ สงครามเท้าไฟ และบริษัท ทีวีบูรพา ในรายการ ปราชญ์เดินดิน เป็นตัน ตัวอย่างรายการทีวีที่ว่านี้ ล้วนอาศัยการรีแพกเกจ (Re-package) ด้านวัฒนธรรมให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย ในขณะเดียวกันก็ทำการรี-เจเนอเรชั่น (Re-generation) ของผู้ชมไปในเวลาเดียวกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น