วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2552

กรณีตัวอย่าง : Harry Potter ในสายธารป๊อบ คัลเจอร์ โดย นันทขว้าง สิรสุนทร


เรื่องราวของ แฮ์รี่ พอตเตอร์ นั้น ทั้งวรรณกรรมและภาพยนตร์ ถือว่าเป็น case study ของบันเทิงยุคใหม่ ...คำว่ายุคใหม่นี่ไม่ได้แบ่งตามศาสตร์ช่วงเวลาว่า จะต้องเลยหลังปี 1875 อะไรขึ้นมาตามสายวิชาการนะครับ แต่คำว่ายุคใหม่ ใช้วัดจากห้วงเวลา งานศิลปะที่อยู่ในยุคหลังสงครามครั้งที่สอง (บางประเทศแบ่งภาพยนตร์เป็นสามช่วง จากยุคหนังเงียบหรือ silent film, หนังเสียงหรือ sound และมาถึงช่วงสุดท้ายคือหลังสงครามโลกนั่นเอง) มาร์เก็ตติ้งแบบที่เอากรงนกหรือไม้กวาดมาแขวนอะไรตามร้านนั้น เพิ่งจะมามีในทศวรรษที่ 80s นี่เอง เป็นการเอารายละเอียดบางอย่างที่ชัดเจนจนผู้คนจดจำได้ ขึ้นมาเสนอต่อการรับรู้สังคม และตัวของแฮร์รี่เอง ก็พยายามลอยตัวหลุดพ้นจากกรอบเก่าๆ ของวรรณกรรมยุคก่อน กล่าวคือ ตัวละครไม่จำเป็นต้องติดดินอยู่กับเหตุผล และสามารถมีรูปลักษณ์หรือหน้าตา ที่เข้าเทรนด์ของยุคสมัยได้(ไม่จำเป็นต้องตารั้น หรือจมูกแบนราบ) แฮร์รี่ไม่ใช่ตัวละครในแบบแฟนตาซีที่มีอิทธิฤทธิ์หรือเวทมนตร์ แต่เขาอาจเป็นคนใหม่ๆ ที่แม้จะมีเวทมนตร์แบบพ่อมดหรืออิทธิฤทธิ์แล้ว แต่เขาไม่ตกอยู่ภายใต้ความสามารถวิเศษ เหมือนแคแรคเตอร์อื่นๆ ที่เอะอะโวยวาย ฉันก็แปลงกายลูกเดียว การเป็นตัวละครแบบนี้ เข้ากับหนึ่งในแคแรคเตอร์ที่เราเรียกกันว่า round charactor ที่มีมิติ มีความลึกและมีลักษณะใกล้คนปรกติมากขึ้น (เจมส์บอนด์ 007 ภาคล่าสุด นั้นใช้แนวทางแบบนี้ คนดูถึงรู้สึกว่า เขาไม่ใช่ฮีโร่ แต่เป็นคนธรรมดาที่จับต้องได้ หรืออีกนัย...ถูกลดระดับ จากความหมายของ hero & somebody มาเหลือแค่ ordinary people หรือ nobody) การที่วรรณกรรมหรือหนังอย่าง แฮร์รี่ พอตเตอร์ มีลักษณะที่คนดูเอ็นดูนั่นเอง มันจึงเลี่ยงไม่ได้ที่แม้แต่โลกตะวันตกที่เคร่งขรึม หรือโลกตะวันตกที่เคร่งครัด จะเกิดวัฒนรรมเลียนแบบหรือ copy บ้าง ...จำได้มั้ยครับว่าเมื่อ 3 ปีที่แล้ว เกิดอะไรขึ้นกับคดีของ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ เจ.เค.โรว์ลิ่ง เกิดอาการปวดหัวมาก?นักเขียนหัวหมอคนหนึ่งของรัสเซีย เขียนวรรณกรรมเรื่องทันย่า กรอตเตอร์ โดยแปลงให้แม่มดคนนี้เป็นเพศหญิง แต่มีอิทธิฤทธิ์คล้ายกับแฮร์รี่ทุกอย่าง มีหน้าที่บากกลางหน้าผาก มีไม้กวาดที่บินได้ และมีลักษณะเปราะบางในจิตใจ ผลก็คือ ทันย่า กรอตเตอร์ ขายกระฉูด และถูก เจ.เค.โรวลิ่ง ฟ้องศาลทันที ! คดีวรรณกรรมนี้ ไปอยู่ในศาลเป็นปี ก่อจะถูกตัดสินว่าแพ้คนดี เนื่องเพราะมีอะไรๆ เหมือนกันมากเกินไป การแพ้คดีของทันย่า กรอตเตอร์ นั้น นักวิจารณ์บางคนมองอย่างน่าสนใจว่า มันสะท้อนถึงการพ่ายแพ้ของโลกแห่งคุณค่า(วรรณกรรมเยาวชน)ต่อทุนนิยม(เจ.เค.โรวลิ่งเพราะหลังจากนั้น ผู้เขียนเจ้าของเรื่องก็มีความรัดกุม รอบคอบที่จะไม่ปล่อยให้คนนอกมาฉวยโอกาสใดๆ กับวรรณกรรมซีรีส์สะท้อนโลกของเธอ ความรัดกุม รอบคอบของผู้เขียนแฮร์รี่ พอตเตอร์ นั้น ลึกขนาดที่ว่าเมื่อจะต้องตัดสินใจให้ตัวละครเด็กคนหนึ่งตายลง (เพื่อบอกกับคนอ่านว่า แท้จริงแล้ว โลกเรานั้นก็แสนจะโหดร้าย มันไม่ได้ดูดี ทุกอย่างสวยงามแบบที่เห็นหรอก) เจ.เค.กลับคิดถึงเรื่องนี้อยู่หลายวัน เพราะการที่จะทำให้ตัวละครสำคัญคนหนึ่งตายลงนั้น เป็นเรื่องใหญ่สำหรับหนังสือเล่มดังระดับโลกแบบแฮร์รี่ พอตเตอร์ อย่างไรก็ตาม เจ.เค.โรว์ลิ่ง มองว่า แม้ในขนบของวรรณกรรมเยาวชนนั้น การปล่อยให้เด็กตายลง หรือตัดแคแรคเตอร์ออกไปนั้น ไม่ใช่สิ่งที่นิยมทำ แต่เธอก็คิดว่าการทำให้เด็กๆ เห็นว่าตัวละครเด็กสามารถตายได้นั้นน่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า (กรณีของ สตีเฟ่น คิง หรือ นิโคลัส มาร์ส หลายครั้ง นักเขียนสองท่านนี้ เสนอให้ตัวละครเข้าไปเผชิญสถานการณ์เกี่ยวกับการตายของผู้อื่น เพื่อบอกถึงความโหดร้ายของโลก) เช่นนี้เอง, การมีอยู่ของวัฒนธรรมป๊อปอย่าง แฮร์รี่ พอตเตอร์ นั้น ไม่ว่ามันอยู่หน้าร้านของบุ๊คส์กาซีน หรือป้ายจองในร้านเอเชียบุ๊คส์ นั้น มันก็เป็นเรื่องที่มีที่มาและมีการก่อร่างสร้างตัว ไปตามสายธารแห่ง Pop Culture ที่ยังเวียนไหลต่อไป
www.oknation.net/blog/print.php?id=30432 - 12k -..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น