วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2552

กรณีศึกษา จากบทความเรื่อง “วิพากษ์ไทยวัฒนธรรม (จบ) : Hybrid Culture คือทางออกจุดเชื่อมกระแสเก่าและคนรุ่นใหม่” โดย จิรนนท์ คนข่าว

















ด้วยเรื่องราวน้ำเน่าแต่แผงไปด้วยความน่าสนใจของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ซึ่งไม่ต่างจากความสำเร็จของ “แดจังกึม” ซึ่งละครทั้งสองเรื่อง ถือว่าเป็นการแนะนำประเทศญี่ปุ่น และเกาหลีได้อย่างตรงประเด็นมากที่สุด ซึ่งสามารถจับใจคนดูได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย หลังจากนั้น ค่อยนำเสนอเรื่องที่สามารถจับใจกลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยการนำเสนอผ่านเพลง ละคร แต่ว่าแต่ละอย่างที่นำเสนอ ต่างสอดใส่วัฒนธรรม ค่านิยม ของแต่ละประเทศได้อย่างคนดูไม่รู้ตัว และสร้างความคุ้นเคยและความต้องการที่จะรู้จักกับศิลปิน และวัฒนธรรมมากขึ้น โดยสอดคล้องกับคำพูดของ พันธุ์เมศ ณ ระนอง ผู้จัดการองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลีประจำประเทศไทย ที่เคยเล่าให้ฟังว่า กระทรวงวัฒนธรรมของเกาหลีได้ใก้ความสำคัญกับกระแสความนิยมของกลุ่มวัยรุ่น (Pop Culture) ซึ่งนำมาใช้เป็นฐานในการต่อยอดทางความคิด ในการผสานวัฒนธรรมดังเดิมให้วัยรุ่นสามารถเข้าถึงและคุ้นเคย มากขึ้น ในทางวัฒนธรรมศึกษา การดำเนินการดังกล่าวเป็นสร้างทางรอดให้กับวัฒนธรรมดั้งเดิมผ่านการ Hybrid Culture เพื่อต่อยอดความนิยมไปยัง Traditional Culture ซึ่งหากมีผู้จัดการด้านวัฒนธรรมที่ดีจะตัองเข้าใจกระแสความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวท่ามกลาง Globalization โดยการจัดระดับวัฒนธรรมของชาติใหม่ เพื่อป้องกันวัฒนธรรมดั้งเดิม สูญหายไปจากการกลืนของวัฒนธรรมที่เหนือกว่า การจัดระดับวัฒนธรรมของชาติ เริ่มต้นด้วย Purely Original Culture จะต้องยกระดับให้เป็นวัฒนธรรมชั้นสูง ซึ่งใครที่มีความสามารถในการถ่ายทอดวัฒนธรรมนั้น คือเป็นผู้ที่จะต้องได้รับการยกย่องระดับชาติ และที่สำคัญบุคคลนั้นจะต้องมีการรับรู้ในทุกกลุ่มของสังคม สำหรับวัฒนธรรมชั้นสูงที่เกิดขึ้นและมีมูลค่าที่สามารถเข้าถึงจิตใจของคนทั่วไป ได้แก่ วัฒนธรรมการดื่มไวน์ของชาวฝรั่งเศส วัฒนธรรมการดื่มชาตอนบ่ายของอังกฤษ การแต่งกายชุดประจำชาติในงานพิธีสำคัญของชาวญี่ปุ่น

ระดับถัดมาเป็น Hybrid Culture ซึ่งเป็นผลพวงของการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมท้องถิ่นกับวัฒนธรรมสากล เพื่อป้องกันการอยู่รอดของวัฒนธรรมหลัก แต่จะต้องมีวัตถุประสงค์ในการส่งต่อรสนิยมการเสพวัฒนธรรมไปสู่วัฒนธรรมชั้นสูง ตัวอย่างที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน คือ ประเทศญี่ปุ่น ที่คนญี่ปุ่นโดยเฉพาะวัยรุ่นไม่รู้สึกเขินอายเมื่อสวมชุดกิโมโนหรือยูกะตะ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่เทศกาลสำคัญๆอีกระดับคือ Pop Culture หรือ วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นแล้วหายไปในเวลาที่ไม่นานนัก และส่วนมากจะไม่ยั่งยืน เมื่อเทียบกับวัฒนธรรมดังเดิม แต่ที่ผ่านมากระทรวงวัฒนธรรมของไทย กลับเห็นวัฒนธรรมในลักษณะนี้เป็นปฏิปักษ์ต่อวัฒนธรรมหลักของสังคม ออกมาประนามสิ่งที่วัยรุ่นทำ โดยไม่มีการหันมาทำความเข้าใจกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจากต้นตอสู่ผลที่เกิดขึ้น (Cause and Effect) หากว่าทำความเข้าใจแล้ว จะทำให้รู้ถึงวิธีการที่จะเข้าถึงวัยรุ่นกลุ่มดังกล่าวและการนำเอารูปแบบ Hybrid Culture ไปเป็นจุดเชื่อมเพื่อสร้างค่านิยมใหม่ให้กับวัยรุ่นได้ โดยไม่ต้องออกมาต่อว่าต่อขานว่าเป็นเด็กสายเดี่ยว เด็กแก่แดด เด็กใจแตกบ้างอย่างไรก็ตาม ยังคงมีผู้ประกอบการบันเทิงบางส่วนที่มีความพยายามที่จะพัฒนาความเป็นไทย ไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่ ในรูปแบบที่ง่ายและตอบสนองความต้องการของวัยรุ่นได้อย่างตรงประเด็น อย่างเช่น กลุ่มบริษัทเวิร์คพอยท์ฯ ในรายการคุณพระช่วย แฟนพันธุ์แท้ ชิงช้าสวรรค์ สงครามเท้าไฟ และบริษัท ทีวีบูรพา ในรายการ ปราชญ์เดินดิน เป็นตัน ตัวอย่างรายการทีวีที่ว่านี้ ล้วนอาศัยการรีแพกเกจ (Re-package) ด้านวัฒนธรรมให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย ในขณะเดียวกันก็ทำการรี-เจเนอเรชั่น (Re-generation) ของผู้ชมไปในเวลาเดียวกัน


กรณีตัวอย่าง : Harry Potter ในสายธารป๊อบ คัลเจอร์ โดย นันทขว้าง สิรสุนทร


เรื่องราวของ แฮ์รี่ พอตเตอร์ นั้น ทั้งวรรณกรรมและภาพยนตร์ ถือว่าเป็น case study ของบันเทิงยุคใหม่ ...คำว่ายุคใหม่นี่ไม่ได้แบ่งตามศาสตร์ช่วงเวลาว่า จะต้องเลยหลังปี 1875 อะไรขึ้นมาตามสายวิชาการนะครับ แต่คำว่ายุคใหม่ ใช้วัดจากห้วงเวลา งานศิลปะที่อยู่ในยุคหลังสงครามครั้งที่สอง (บางประเทศแบ่งภาพยนตร์เป็นสามช่วง จากยุคหนังเงียบหรือ silent film, หนังเสียงหรือ sound และมาถึงช่วงสุดท้ายคือหลังสงครามโลกนั่นเอง) มาร์เก็ตติ้งแบบที่เอากรงนกหรือไม้กวาดมาแขวนอะไรตามร้านนั้น เพิ่งจะมามีในทศวรรษที่ 80s นี่เอง เป็นการเอารายละเอียดบางอย่างที่ชัดเจนจนผู้คนจดจำได้ ขึ้นมาเสนอต่อการรับรู้สังคม และตัวของแฮร์รี่เอง ก็พยายามลอยตัวหลุดพ้นจากกรอบเก่าๆ ของวรรณกรรมยุคก่อน กล่าวคือ ตัวละครไม่จำเป็นต้องติดดินอยู่กับเหตุผล และสามารถมีรูปลักษณ์หรือหน้าตา ที่เข้าเทรนด์ของยุคสมัยได้(ไม่จำเป็นต้องตารั้น หรือจมูกแบนราบ) แฮร์รี่ไม่ใช่ตัวละครในแบบแฟนตาซีที่มีอิทธิฤทธิ์หรือเวทมนตร์ แต่เขาอาจเป็นคนใหม่ๆ ที่แม้จะมีเวทมนตร์แบบพ่อมดหรืออิทธิฤทธิ์แล้ว แต่เขาไม่ตกอยู่ภายใต้ความสามารถวิเศษ เหมือนแคแรคเตอร์อื่นๆ ที่เอะอะโวยวาย ฉันก็แปลงกายลูกเดียว การเป็นตัวละครแบบนี้ เข้ากับหนึ่งในแคแรคเตอร์ที่เราเรียกกันว่า round charactor ที่มีมิติ มีความลึกและมีลักษณะใกล้คนปรกติมากขึ้น (เจมส์บอนด์ 007 ภาคล่าสุด นั้นใช้แนวทางแบบนี้ คนดูถึงรู้สึกว่า เขาไม่ใช่ฮีโร่ แต่เป็นคนธรรมดาที่จับต้องได้ หรืออีกนัย...ถูกลดระดับ จากความหมายของ hero & somebody มาเหลือแค่ ordinary people หรือ nobody) การที่วรรณกรรมหรือหนังอย่าง แฮร์รี่ พอตเตอร์ มีลักษณะที่คนดูเอ็นดูนั่นเอง มันจึงเลี่ยงไม่ได้ที่แม้แต่โลกตะวันตกที่เคร่งขรึม หรือโลกตะวันตกที่เคร่งครัด จะเกิดวัฒนรรมเลียนแบบหรือ copy บ้าง ...จำได้มั้ยครับว่าเมื่อ 3 ปีที่แล้ว เกิดอะไรขึ้นกับคดีของ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ เจ.เค.โรว์ลิ่ง เกิดอาการปวดหัวมาก?นักเขียนหัวหมอคนหนึ่งของรัสเซีย เขียนวรรณกรรมเรื่องทันย่า กรอตเตอร์ โดยแปลงให้แม่มดคนนี้เป็นเพศหญิง แต่มีอิทธิฤทธิ์คล้ายกับแฮร์รี่ทุกอย่าง มีหน้าที่บากกลางหน้าผาก มีไม้กวาดที่บินได้ และมีลักษณะเปราะบางในจิตใจ ผลก็คือ ทันย่า กรอตเตอร์ ขายกระฉูด และถูก เจ.เค.โรวลิ่ง ฟ้องศาลทันที ! คดีวรรณกรรมนี้ ไปอยู่ในศาลเป็นปี ก่อจะถูกตัดสินว่าแพ้คนดี เนื่องเพราะมีอะไรๆ เหมือนกันมากเกินไป การแพ้คดีของทันย่า กรอตเตอร์ นั้น นักวิจารณ์บางคนมองอย่างน่าสนใจว่า มันสะท้อนถึงการพ่ายแพ้ของโลกแห่งคุณค่า(วรรณกรรมเยาวชน)ต่อทุนนิยม(เจ.เค.โรวลิ่งเพราะหลังจากนั้น ผู้เขียนเจ้าของเรื่องก็มีความรัดกุม รอบคอบที่จะไม่ปล่อยให้คนนอกมาฉวยโอกาสใดๆ กับวรรณกรรมซีรีส์สะท้อนโลกของเธอ ความรัดกุม รอบคอบของผู้เขียนแฮร์รี่ พอตเตอร์ นั้น ลึกขนาดที่ว่าเมื่อจะต้องตัดสินใจให้ตัวละครเด็กคนหนึ่งตายลง (เพื่อบอกกับคนอ่านว่า แท้จริงแล้ว โลกเรานั้นก็แสนจะโหดร้าย มันไม่ได้ดูดี ทุกอย่างสวยงามแบบที่เห็นหรอก) เจ.เค.กลับคิดถึงเรื่องนี้อยู่หลายวัน เพราะการที่จะทำให้ตัวละครสำคัญคนหนึ่งตายลงนั้น เป็นเรื่องใหญ่สำหรับหนังสือเล่มดังระดับโลกแบบแฮร์รี่ พอตเตอร์ อย่างไรก็ตาม เจ.เค.โรว์ลิ่ง มองว่า แม้ในขนบของวรรณกรรมเยาวชนนั้น การปล่อยให้เด็กตายลง หรือตัดแคแรคเตอร์ออกไปนั้น ไม่ใช่สิ่งที่นิยมทำ แต่เธอก็คิดว่าการทำให้เด็กๆ เห็นว่าตัวละครเด็กสามารถตายได้นั้นน่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า (กรณีของ สตีเฟ่น คิง หรือ นิโคลัส มาร์ส หลายครั้ง นักเขียนสองท่านนี้ เสนอให้ตัวละครเข้าไปเผชิญสถานการณ์เกี่ยวกับการตายของผู้อื่น เพื่อบอกถึงความโหดร้ายของโลก) เช่นนี้เอง, การมีอยู่ของวัฒนธรรมป๊อปอย่าง แฮร์รี่ พอตเตอร์ นั้น ไม่ว่ามันอยู่หน้าร้านของบุ๊คส์กาซีน หรือป้ายจองในร้านเอเชียบุ๊คส์ นั้น มันก็เป็นเรื่องที่มีที่มาและมีการก่อร่างสร้างตัว ไปตามสายธารแห่ง Pop Culture ที่ยังเวียนไหลต่อไป
www.oknation.net/blog/print.php?id=30432 - 12k -..

ทรรศนะที่น่าสนใจ เกี่ยวกับวัฒนธรรม Pop Culture





















ยังมีทรรศนะที่น่าสนใจ เกี่ยวกับ วัฒนธรรม Pop Culture เช่น จาก thesis เรื่อง The Comparative Study of the Adapted Versions of Sangthong in Popular Culture ว่า...



ในภาษาไทยยังไม่มีการบัญญัติคำว่า Popular Culture ที่แน่นอน จึงพบว่าในการศึกษา หรืองานวิจัยต่างๆมีการใช้คำทับศัพท์ หรือบัญญัติศัพท์ Popular Culture ใช้กันอย่างหลากหลายเช่น คำว่า ป๊อป คัลเจอร์ (นันทขว้าง สิรสุนทร,2545) วัฒนธรรมสมัยนิยม (วิริยะ สว่างโชติ ,2542) วัฒนธรรมสมัยนิยม หรือกระแสป๊อป (พัฒนา กิติอาสา,2547) วัฒนธรรมประชานิยม (เปรม สวนสมุทร,2547) วัฒนธรรมป๊อป,วัฒนธรรมกระแสนิยม (ฐิรวุฒิ เสนาคำ,2549) ประเด็นหนึ่งที่นำมานิยามความหมายของวัฒนธรรมประชานิยม คือ วัฒนธรรมนี้ถูกตั้งไว้ในฝั่งตรงข้ามกับวัฒนธรรมชั้นสูง เพราะความยึดมั่นใน "วาทกรรม" ของวัฒนธรรมหลักที่สถาปนาขึ้น การสร้างวาทกรรมสถาปนาวัฒนธรรมหลัก และกฎเกณฑ์ขึ้นมาเป็นตัวตั้ง ทำให้วัฒนธรรมประชานิยมซึ่งเป็นวัฒนธรรมย่อยที่มีเนื้อหาไม่เป็นไปตามวัฒนธรรมหลักถูกตัดสินว่าเป็นวัฒนธรรมชั้นต่ำ ด้อยค่า และบ่อนทำลาย หรือเรียกได้ว่าถูกกระทำผ่านกระบวนการทางวาทกรรมให้เป็นตัวแทนความเป็นอื่นทางวัฒนธรรม (representations of cultural otherness) ซึ่งความคิดนี้ถือเป็นความคับแคบและอคติของกระบวนทัศน์วัฒนธรรม สำหรับการรับเอาวัฒนธรรมประชานิยมเข้ามาในสังคมไทยนั้น มักมีผู้ศึกษาเกี่ยวกับประเด็นนี้โดยตั้งข้อสังเกตร่วมกับบทบาทของสื่อ ในฐานะที่เป็นปัจจัยสำคัญในการเผยแพร่ และสร้างความนิยมให้แก่ประชาชน โดยสื่อถูกเชื่อมโยงเข้ากับระบบทุนนิยม วัฒนธรรมถูกแปรสภาพในรูปแบบของสินค้า ผ่านกระบวนการผลิตที่ไตร่ตรองโดยผู้ผลิตว่าตอบสนองอุปทานของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย แล้วจึงนำเสนอสินค้าทางวัฒนธรรมนั้นผ่านสื่อ ทำให้ผู้บริโภคได้ทำความรู้จักกับสินค้าต่างๆ ก่อเกิดทางเลือกและรสนิยมในการบริโภค จากสมมติฐานของนักวิชาการสายสื่อสารมวลชนอย่างภัทร ด้านอุตรากล่าวไว้ว่า กำเนิดของสื่อที่มีลักษณะเป็นสื่อมวลชน นับเป็นปัจจัยที่แบ่งแยกความแตกต่างระหว่าง popular culture กับวัฒนธรรมชาวบ้าน ดังนั้นจึงพอถือได้ว่า การตั้งโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์นับเป็นการเกิดปรากฏการณ์ popular culture เป็นครั้งแรกในประเทศไทย นอกจากนี้ จุดเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัดว่า popular culture ได้หยั่งรากลึกในสังคมไทยคือ การเกิดคำว่า "เชย" อันมีที่มาจาก "ลุงเชย" ในหัสนิยายชุดสามเกลอ ของป.อินทรปาลิต เพราะการยอมรับความหมายของคำใหม่อย่างคำว่า "เชย"ในช่วงปีทศวรรษ 2480 ย่อมแสดงถึงการแบ่งแยกรสนิยมทางวัฒนธรรม ข้อสังเกตเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับ popular culture เข้ามาในประเทศไทยก็คือ หนังสือสองเล่มของหม่อมราโชทัย อันได้แก่ "จดหมายเหตุเรื่องทูตไทยไปประเทศอังกฤษ" และ "นิราศลอนดอน" ซึ่งเป็นที่นิยมจนเกิดการซื้อขายลิขสิทธิ์นั้น ล้วนมีนัยยะของการรับวัฒนธรรมต่างประเทศ และยังมีสื่อภาพยนตร์ หรือสิ่งประดิษฐ์ที่ยุคนั้นเรียกว่า "cinematograph" ที่ฉายครั้งแรกที่โรงละครหม่อมเจ้าอลังการในปีพ.ศ.2441 ก็เป็นประดิษฐกรรมล้ำยุคจากต่างประเทศ รวมทั้งภาพที่ฉายก็เป็นภาพบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ เช่นเดียวกับที่วรรณกรรมชุดสามเกลอก็มีหลายองค์ประกอบที่แสดงให้เห็นพฤติกรรม และรสนิยมของชาวกรุงผู้มีอันจะกินรุ่นใหม่ ซึ่งมักใช้ชีวิตอย่างชาวตะวันตก หรือได้รับการศึกษามาจากต่างประเทศเกือบทั้งสิ้น การศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมประชานิยมเกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 พัฒนาการทางความคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมประชานิยม(popular culture) ได้ถูกนำไปผูกติดกับการต่อสู้แข่งขันเพื่อช่วงชิงความหมายและการตีความซึ่งมีมาก่อนแล้ว และได้กลายเป็นหลักฐานสำคัญในการโต้แย้งกันต่างๆ เกี่ยวกับวัฒนธรรมมวลชน(mass culture) ผ่านกลไกทางวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับระบบทุนนิยม ทั้งนี้เพราะวัฒนธรรมประชานิยมผูกพันอยู่กับประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีอิสระที่จะเรียกร้อง ต่อรอง ต่อสู้ หรือกระทำการใดๆภายใต้สิทธิอันชอบธรรม จึงเกิดการปะทะสังสรรค์ทางความคิด ตลอดจนการพยายามครอบงำ และพยายามปลดเปลื้องตนเองจากการถูกครอบงำ และโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม ขณะนี้วัฒนธรรมประชานิยม หรือ populalr culture ได้เข้ามาฝังรากลึกอยู่ในปริมณฑลชีวิตของเราๆท่านๆที่ดำเนินไปตามกระแสกันทุกเมื่อเชื่อวัน ใครที่ยังไม่แจ้งใจว่าแล้วตกลงมันคืออะไรและมาจากไหนกันแน่ แนะนำให้ลองกลับไปสังเกตเพลงที่คุณฟัง หนังที่คุณดู เสื้อผ้าที่คุณใส่ หรือแม้แต่อะไรต่อมิอะไรที่คุณกินคุณดื่ม สิ่งที่ผูกร้อยอยู่กับวิถีชีวิตแล้วสถาปนาคุณขึ้นมาในฐานะผู้เสพผู้บริโภคเหล่านี้ล้วนหลอมรวมกันเป็นคำจำกัดความของ popular culture






ท้ายสุดขออ้างอิงบทความของ นิวัติ พุทธิประสาท เกี่ยวกับ วัฒนธรรม Pop Culture ในประเทศไทย... สำหรับประเทศไทย อิทธิพลวัฒนธรรมการ์ตูนญี่ปุ่น-ฮีโร่มนุษย์แปลง ได้รับการตอบรับอย่างดี ทั้งหนังสือและภาพยนตร์ โดยเฉพาะการ์ตูนในยุคบุกเบิกอย่างโดราเอมอน นินจาฮาโตริ คาเมนไรเดอร์ อุลตราแมน ได้ทำให้ภาพของวัฒนธรรมญี่ปุ่นใกล้ชิดและเข้าถึงคนไทยได้อย่างรวดเร็ว ญี่ปุ่นทรงอิทธิพลไม่เฉพาะวัฒนธรรม แต่การขยายอาณาเขตธุรกิจก็รุนแรงไม่แพ้กัน เมื่อประเทศไทยต้องการการลงทุนทางอุตสาหกรรม และญี่ปุ่นต้องการแรงงานราคาถูกลงเพื่อส่งออกสินค้าของตน แต่ความสำเร็จในการแผ่อิทธิพลทางวัฒนธรรมญี่ปุ่นในสังคมไทยก็ใช่ว่าจะราบรื่น เพราะปัจจุบันสังคมไทยไม่ได้รับอิทธิพลด้านเดียวเหมือนก่อน ทว่าได้รับอิทธิพลจากหลากหลายแหล่ง กลุ่มคนที่รับวัฒนธรรมญี่ปุ่นจึงเป็นกลุ่มคนเล็กๆ แม้ฝ่ายชนชั้นนำของสังคมไทยจะมองว่า กระแสอิทธิพลการ์ตูนญี่ปุ่นได้ครอบครองแนวความคิดของเด็กรุ่นใหม่แล้วก็ตาม ถ้ามองในแง่ความเป็นจริง การ์ตูนญี่ปุ่นไม่ได้นำเสนอแต่เพียงการ์ตูนสำหรับเด็ก ทว่าในญี่ปุ่นการ์ตูนเป็นภาพสะท้อนของสังคม และการ์ตูนญี่ปุ่นหลายเรื่องก็มีคุณค่าทางสังคมไม่แพ้วรรณกรรมดีๆ สักเรื่อง ภาพการต่อต้านวัฒนธรรมญี่ปุ่นจึงเบาบางกว่ามาก กระนั้นเลยถ้ามองภาพวัฒนธรรมป๊อปในสังคมไทย ซึ่งเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง เราจะเห็นว่าการต่อต้านวัฒนธรรมอื่นมิสามารถทำได้ จากวัฒนธรรมญี่ปุ่น ใครจะรู้ว่าวัฒนธรรมเกาหลีเข้าสู่สังคมไทยได้อย่างรวดเร็วเพียงข้ามปี หากเฝ้ามองอย่างละเอียด เราจะพบว่าวัฒนธรรมเกาหลีเองก็มีเส้นทางเดินตามรอยวัฒนธรรมญี่ปุ่น เริ่มจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อย่างค่าย SAMSUNG ได้ผลิตมือถือ โทรทัศน์จอพลาสมา แอลซีดี เครื่องคอมพิวเตอร์ สินค้าของ SAMSUNG มิได้ผลิตเพื่อขายในเอเชียเท่านั้น แต่ตลาดยุโรปและอเมริกากลายเป็นตลาดใหญ่ นอกจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์แล้ว เกาหลียังนำร่องในเรื่องวัฒนธรรมด้วยภาพยนตร์ ซึ่งรัฐบาลส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์อย่างต่อเนื่อง การลงทุนในเรื่องภาพยนตร์ของเกาหลีไม่สูญเปล่า เพราะทำให้โลกรู้จักเกาหลีดีขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ นอกจากภาพยนตร์แล้วหนังชุดของเกาหลีอย่างแดจังกึม ก็สร้างความประทับใจให้คนดูจนเกิดปรากฏการณ์ทำให้คนอยู่ติดบ้านเพื่อรอดูหนังชุดนี้โดยไม่ไปไหน ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก นอกจากนั้นศิลปินนักร้องเกาหลีอย่างเรน ก็ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากแฟนเพลง การเดินทางมาแสดงคอนเสิร์ตในประเทศไทยแม้จะอยู่ในบรรยากาศการรัฐประหาร ทว่าผู้คนก็ไปชมการแสดงกันจำนวนมาก หากมองด้วยภาพดังกล่าว เราจะเห็นได้ว่าการแผ่อิทธิพลทางวัฒนธรรมนั้นไม่มีวันหยุด ไม่มีวันปิดกั้น ไม่มีทางชี้นำ วัฒนธรรมเป็นตัวแทนของวิถีชีวิตที่ไหลไปตามลมหายใจของผู้คน แน่นอนชนชั้นนำหวาดกลัวการถูกกลืนกินทางด้านวัฒนธรรม กลัวการสูญสลายทางสังคมของตน ความหวาดกลัวดังกล่าวจึงต้องสร้างเกราะป้องกันตัวในรูปแบบของการปกป้อง แต่อย่าลืมว่าวัฒนธรรมที่สูญสลายไปในอดีตก็เพราะว่าไม่สามารถปรับตัวเพื่อรับใช้ปัจจุบัน หากเราต้องการรักษาอดีตที่ยิ่งยงของตนบนพื้นที่ชีวิตสมัยใหม่ การปรับตัวจะต้องเข้มข้นถึงขั้นปิดประเทศ กระนั้นเลยการรับวัฒนธรรมอื่นมาสู่สังคมไทย ก็มิได้เลวร้ายหรือเป็นการทำลายชาติอย่างที่ชนชั้นนำนิยาม ...Pop Culture คือสีสันของยุคสมัยใหม่ เป็นความเคลื่อนไหวที่น่าจับตามอง แต่กระนั้นเราต้องรู้เท่าทันและเข้าใจมันในเนื้อแท้ มิใช่เปลือกนอกที่กลวงเปล่า เพราะถ้าเราอยู่ในความเปลือยเปล่า เราเองนั่นแหละที่จะถูกปั่นให้เป็นผุยผง

Popular culture และตัวตน







Popular culture



ในคำแปลภาษาไทยนั้นมีหลากหลายคำด้วยกันไม่ว่าจะเป็น วัฒนธรรมสมัยนิยม, วัฒนธรรมป๊อป, วัฒนธรรมมวลชน, วัฒนธรรมประชานิยม, วัฒนธรรมประชาชน. กระแสป๊อป หรือแม้แต่การใช้ทับศัพท์คำว่า ป๊อป-คัลเจอร์ ซึ่งในความหมายของคำเหล่านี้ล้วนเต็มไปด้วยกิจกรรม ทุกอย่างในชีวิตประจำวันของเราที่สังคมให้ความนิยมชมชอบ แทบทุกกระแสที่อยู่ในความสนใจของคนจำนวนมากโดยการนำเสนอของสื่อมวลชน หรือสินค้า และบริการยอดนิยม ที่อยู่รายรอบตัวเรา ล้วนจัดเข้าข่ายนิยามของวัฒนธรรมสมัยนิยม ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรม, เพลงป๊อป, ดนตรี, ละคร, แฟชั่น, ศิลป, งานเขียนต่างๆ ที่อยู่ในกระแสนิยมจันทรา มุเกอร์จี และไมเคิล ชุดสัน (Chandra Mukeji and Michael Schudson) กล่าวว่า วัฒนธรรมสมัยนิยม หมายถึงความเชื่อและปฏิบัติการรวมถึงสิ่งของต่าง ๆ ที่ได้รับการยอมรับหรือการนิยามอย่างแพร่หลาย โดยประชากรกลุ่มหนึ่ง และนันทขว้าง ศิริสุนทร ได้กล่าวเอาไว้ว่า ป๊อป คัลเจอร์ต้องเป็นสิ่งที่มหาชนนิยม เป็นอะไรที่ตรงกันข้ามกับวัฒนธรรมชนชั้นสูง ไม่จำเป็นต้องเป็นชนชั้นใดชนชั้นหนึ่ง เป็นของที่นิยมได้ทุกชนชั้น และเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไม่ทางใดก็ทางหนึ่งอลิซาเบธ จี. เทราบี (Elizabeth G. Traube) กล่าวว่า "popular culture" เริ่มใช้ในยุโรปในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 โดยโจฮันน์ กอตต์ปรายด์ เฮอร์เดอร์ (Johann Gottfried Herder) ซึ่งได้จำแนกวัฒนธรรมออกเป็นวัฒนธรรมชั้นสูง (high culture) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของผู้ที่มีการศึกษา เป็นวัฒนธรรมแห่งเหตุผล และวัฒนธรรมชั้นต่ำ (low culture) หรือวัฒนธรรมป๊อป คือวัฒนธรรมไร้เหตุผล ใช้ความรู้สึกดั้งเดิม แม็ทธิว อาร์โนลด์ (Mathew Arnold) ผู้สร้าง Culture and Anarchy งานชิ้นบุกเบิกของวัฒนธรรมป๊อป ถูกมองว่าเป็นต้นเหตุของความปั่นป่วนอนาธิปัตย์ และภาวะแห่งความไร้ระเบียบและกฎเกณฑ์ของสังคม จอนห์ ฟิสเก้ (John Fiske) ได้กล่าวเกี่ยวกับแนวทางในการศึกษาวัฒนธรรมสมัยนิยมเอาไว้ว่าประกอบไปด้วย 3 แนวทางได้แก่



1. พิจารณาวัฒนธรรมสมัยนิยมจากตัวแบบของการประนีประนอม (a consensual model) มองเห็นวัฒนธรรมสมัยนิยมว่า เป็นเพียงพิธีกรรมของการจัดการความแตกต่างและความตึงเครียดทางวัฒนธรรม และในที่สุดก็จะจบลงด้วยความสมานฉันท์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของวัฒนธรรมร่วมกันของคนในชาติ



2. พิจารณาวัฒนธรรมสมัยนิยมจากตัวแบบของอำนาจ (a model of power) มองเห็นวัฒนธรรมสมัยนิยมว่าเป็นการกดบีบ การบังคับครอบงำมวลชนหรือกลุ่มคนที่ไร้อำนาจ และอยู่ในฐานะที่ไม่อาจต่อรองได้ในอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมต่าง ๆ



3. พิจารณาวัฒนธรรมสมัยนิยมในฐานะที่เป็น "สนามของการต่อรองช่วงชิง (a site of struggle) มองเห็นกระบวนการต่อรอง สร้างสรรค์และกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่คนในสังคมใช้ในการรับมือหรือสร้างความหมายทางสังคมให้กับประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของตนการวิเคราะห์ตัวตนในกระแสวัฒนธรรมสมัยนิยมการวิเคราะห์ตัวตนในกระแสวัฒนธรรมสมัยนิยมนั้น สามารถแบ่งการพิจารณาออกเป็น 5 ลักษณะ คือ (พัฒนา กิติอาสา, 2546, 46)



1. ตัวตนได้จากการเสพสื่อ มีประสบการณ์ผ่านสื่อแล้วนำมาสร้างความเป็นตัวตนให้กับตนเอง



2. ตัวตนเกิดในโลกความจริงเหนือความจริง โดยสื่อมักเป็นผู้สร้างความจริงเหล่านั้น เช่น ผู้หญิงสวยมักต้องมีสัดส่วนที่ผอมบาง



3. ตัวตนที่ถูกแยกย่อย เช่น กลุ่มเกย์ กลุ่มเด็กเซ็นเตอร์พ้อยท์



4. ตัวตนที่อยู่ในโลกที่ขัดแย้งกัน อันเกิดจากการสร้างความหมายที่ขัดแย้งกัน เช่นผู้หญิงต้องเป็นทั้งแม่ และเป็นสาวเปรี้ยวในกลุ่มเพื่อน



5. ตัวตนในโลกแห่งสุนทรียะที่มีระดับแยกไปตามอำนาจที่ผู้อื่นเป็นผู้กำหนด เช่นคนมีเงินดูหนังโรงชั้นหนึ่ง ผู้ใช้แรงงานดูหนังควบตามโรงสองชั้นการสร้างความหมายให้กับตนจึงอาศัยการตีความ การเลือกเปิดรับสื่อ รูปร่างลักษณะภายนอกของตน จังหวะ โอกาส และสถานการณ์ ณ ช่วงเวลานั้น ๆ มาประกอบการสังเคราะห์เป็นตัวตนของคนแต่ละคนให้เป็นรูปธรรมขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นตัวตน เพศสภาพ สัญชาติ สถานะทางสังคม และความหมายที่เกิดขึ้น ซึ่งตัวตนนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดตามยุคสมัยและบริบทของสังคมวุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ และคณะ(อ้างในพัฒนา กิติอาสา, 2546, 49)ได้นำเสนอว่า เครื่องมือที่สำคัญที่สุดของการสร้างตัวตนในกระแสวัฒนธรรมสมัยนิยม ประกอบด้วยกลวิธี 7 อย่าง ได้แก่



1. การใช้คำขวัญ หรือคำสั้น ๆ ที่จำง่ายซึ่งจะช่วยดึงดูดให้ผู้คนสนใจ



2. การตราหน้า การทำให้คนตัดสินใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่ใช้เหตุผลประกอบ



3. การเหมารวม การทำให้คนเกิดความรู้สึกดีหรือประทับใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยปราศจากการวิเคราะห์ ตรวจสอบ



4. การถ่ายโอนสัญลักษณ์ เป็นการใช้สัญลักษณ์ของสิ่งที่น่าเชื่อถือ เป็นที่เคารพมาเพื่อถ่ายโอนลงสู่อีกสิ่งหนึ่ง



5. การแห่ตาม การกระตุ้นความรู้สึกอยากมีพวกพ้อง ความเห็นด้วย



6. ความดึงดูดทางเพศ(sex appeal) การกระตุ้นความรู้สึกทางเพศให้คนหันมาสนใจ



7. เสียงดนตรี การนำเพลงประกอบ ทำให้รู้สึกคล้อยตาม และจดจำได้ง่าย
อ้างอิง : ส่วนหนึ่งของงานวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา เรื่อง พื้นที่สาธารณะ พื้นที่ส่วนตัว และเรื่องตัวตนบนไซเบอร์สเปซ ของ เอมอร ลิ้มวัฒนา นักศึกษาปริญญาโทหลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเผยแพร่ใน เว็บไซต์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 1059(เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๙)






ปรากฏการณ์ของค่านิยมมวลชนที่มีความสัมพันธ์กับผลประโยชน์ตามระบบทุนนิยม อันมีเหตุมาจากความเป็น สากลของโลกจากฝั่งตะวันตกที่แทรกซึมลงไปตามพื้นที่สังคมเปิดต่างๆ ผ่านกระแสของสื่ออันเป็นเครื่องมืออย่างดีของระบบทุนนิยม ในลักษณะการถ่ายทอด ผลิตซ้ำ แพร่กระจาย โดยเฉพาะในด้านการอุตสาหกรรม การพาณิชย์ รวมไปถึงการบริโภคในรูปแบบต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมแนวใหม่ขึ้นมา ซึ่งวัฒนธรรมที่ว่าคือ Popular Culture วัฒนธรรม Pop ที่ว่านี้ไม่ใช่ทฤษฎีที่มีระบบความคิดที่ตายตัว หากเป็นแนวคิดหนึ่งที่มีการพลวัตเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไม่รู้จบตามแต่แนวนิยมของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปแต่ละยุคสมัย และได้รับการทำความเข้าใจในลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามแต่มุมมองของนักวิชาการในแต่ละด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านรัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สื่อสารมวลชน หรือมานุษยวิทยา ที่ตั้งชุดคำถามขึ้นมาวิเคราะห์ร่วมกับผลผลิตจากระบบทุนนิยมอันส่งผลกระทบสืบเนื่องมาถึงเรื่องราวเกี่ยวข้องกับศาสตร์ที่ตนศึกษา อ้างอิง : thesis เรื่อง The Comparative Study of the Adapted Versions of Sangthong in Popular CultureWikipedia พูดถึงวัฒนธรรมป๊อปเอาไว้ว่า “Pop culture” can also be defined as the culture that is “left over” when we have decided what “high culture” is.วัฒนธรรมไทยได้รับอิทธิพลจากโลกตะวันตกโดยเฉพาะ Pop Culture จากฝั่งอเมริกันมหาศาล เอลวิส เพรสลีย์, แจกกาลีน เคนเนดี้, จอห์น เวย์น, อลิซาเบธ เทย์เลอร์ เป็นอาทิ วัฒนธรรมเหล่านั้นหลั่งไหลมาในรูปแบบภาพยนตร์ ข้าวโพดคั่ว ดนตรีร็อก ทรงผม แฟชั่นเสื้อผ้า รูปแบบการใช้ชีวิต ความรุนแรงของวัฒนธรรมอเมริกันชนแผ่อิทธิพลไปทั่วโลก ไม่เฉพาะในเอเชีย ชันชนะของวัฒนธรรมป๊อป โหมกระพืออย่างรวดเร็ว เพราะเข้าถึงประชาชนอย่างง่ายดาย ประกอบกับวัยหนุ่มสาวมีอิสรเสรีที่จะคิดและทำได้มากขึ้น การศึกษาที่สูงขึ้นทำให้มนุษย์มีอิสระที่จะเลือก มีสิทธิที่จะดำเนินชีวิตตามครรลองของตนเอง โดยปราศจากการชี้นำจากรัฐบาลหรือจากครอบครัว กลิ่นหอมหวนของวัฒนธรรมป๊อปคือความหมายของเสรีภาพ เมื่อมันเดินทางไปสู่ประเทศที่เคร่งครัดต่อจารีต และมีรูปแบบที่ชัดเจน ย่อมถูกต่อต้านจากชนชั้นนำอย่างไม่ต้องสงสัย ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ต่อต้าน Pop Culture อย่างหนัก โดยเฉพาะยุคปัจจุบัน การก่อตั้งกระทรวงวัฒนธรรม จึงเกิดขึ้นเพื่อกลายเป็นป้อมพระกาฬต่อสู้กับการรุกรานทางวัฒนธรรม ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การเผยแพร่วัฒนธรรมยุคใหม่ไปยังประเทศหนึ่งใช้เวลาน้อยลง การสื่อสารที่รวดเร็วของข่าวสารใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาที รายการโทรทัศน์ได้แผ่ขยายสัญญาณไปจนถึงขอบโลก ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดเรายังติดตามสถานีโทรทัศน์ CNN, MTV และ BBC ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ทันต่อเหตุการณ์ตลอดเวลาจนยากที่จะตกสมัย อินเทอร์เน็ตทำให้การสนทนาข้ามประเทศ เปิดไปสู่ประตูและชุมชนโลกได้เพียงคลิกเดียว จึงไม่แปลกที่ชนชั้นนำจะต่อต้าน Pop Culture ทั้งที่ชนชั้นนำในยุคหนึ่งก็เดินตามวัฒนธรรมยุโรป และมองวัฒนธรรมยุโรปเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผมมองว่าการต่อต้าน Pop Culture สืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมที่หลั่งไหลเข้ามานั้น มิได้รับการชี้นำจากกลุ่มชนชั้นสูงอีกต่อไป การสูญเสียอำนาจชี้นำเป็นเรื่องที่หนักหนาต่อระบบแนวคิดการปกครอง เมื่อประชาชนมีสิทธิที่จะเลือกได้อย่างอิสระ ย่อมทำให้การปกครองประเทศยากขึ้นไปด้วยนั่นเอง
อ้างอิง: นิวัติ พุทธประสาท จาก ART gazine Community